วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ภาวะผู้นำ

ภาวะผู้นำ The Ohio State Studes

การศึกษาของมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท
จากการศึกษาของนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท พบว่าพฤติกรรมของผู้นำสามารถอธิบายได้เป็นสองมิติ คือ
1.พฤติกรรมมุ่งคน (consideration)
2.พฤติกรรมมุ่งงาน (initiating structure)
พฤติกรรม มุ่งคน คือ พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งสร้างความไว้วางใจร่วมกัน ติดต่อสื่อสารแบบสองทาง เคารพความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความต้องการของพวกเขา สร้างความใกล้ชิดทางจิตใจกับผู้ตาม ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่
- การรับฟังความเห็นของพนักงาน
- การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน
- บอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า
- สนใจความเป็นอยู่ของพนักงาน
- ปรึกษาหารือกับพนักงาน
- ติดต่อสื่อสารกับพนักงาน
- เป็นผู้แทนผลประโยชน์ของพนักงาน
- เป็นมิตรกับพนักงาน
พฤติกรรม มุ่งงาน คือ พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งระบุงานและความรับผิดชอบที่เจาะจงของสมาชิกแต่ละคน ให้ชัดเจน กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน การประสานกิจกรรมของพนักงาน การมุ่งความสำคัญของกำหนดการ มุ่งการกำกับอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จ ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่
1. การวางหมายกำหนดการทำงาน
2. การรักษามาตรฐานการปฏิบัติงาน
3. การกระตุ้นให้ใช้ระเบียบปฏิบัติเดียวกัน
4. การตัดสินใจสิ่งที่ต้องทำ และทำอย่างไร
5. การกดดันพนักงาน
6. การระบุบทบาทพนักงานให้ชัดเจน
7. การแก้ปัญหา การวางแผน
8. การประสานงาน การให้การสนับสนุน
การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำแบบสองมิตินี้ ผู้นำอาจมีสไตล์ผู้นำอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่แบบ คือ
1. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนต่ำ
2. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนสูง
3. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนต่ำ
4. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนสูง
สรุปผลการวิจัยบางประการจากการศึกษาของ ม. โอไฮโอสเตท เกี่ยวกับมิติทั้งสองด้านของผู้นำ พบว่า
1.ผู้นำที่มีประสิทธิผล จะมีพฤติกรรมที่มุ่งเน้นทั้งสองมิติ คือ ทั้งด้านมุ่งคน และมุ่งงาน
2.กลุ่มผู้ตามมีความต้องการให้ผู้นำแสดงออกด้วยพฤติกรรมด้านมุ่งคน มากกว่า มุ่งงาน
3.ในทางกลับกันกับข้อ 2 ปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาของผู้นำ ต้องการให้ผู้นำใช้พฤติกรรม ด้านมุ่งงาน เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตำแหน่งของผู้บังคับบัญชายิ่งสูงมากยิ่งต้องการให้ผู้นำใช้ พฤติกรรมด้านมุ่งงานมากขึ้นตามไปด้วย

ที่มา : สมยศ นาวีการ (2540 ). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ.กรุงเทพ : บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมเวียนเทียนวันวิสาขบูชา

นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์เข้าร่วมกิจกรรมเวียนเทียนเนื่องในวันวิสาขบูชา
ณ วัดบูรพารามพระอารามหลวง อ.เมือง จังหวัดสุรินทร์

รับเสด็จสมเ็ด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ


จัดสถานที่เตรียมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ
ณ  โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

การแข่งขันกีฬาสีภายในครูแลเจ้าหน้าที่วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์




ร่วมการแข่งขันกีฬาสีภายในระหว่างครูและเจ้าหน้าที่ ประเภทกีฬาวอลเลย์บอลและกีฬาแชร์บอล
ณ  วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์

การประกันคุณภาำพการศึกษา


การประกันคุณภาพการศึกษา
                Q.A. หรือ การประกันคุณภาพการศึกษา คือ การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา
ความสำคัญของ Q.A.
                1.  ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้
                2. 
ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ

                3. 
ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง
ประเภทของระบบประกันคุณภาพ
                1.  ระบบการประกันคุณภาพภายใน
                2.  ระบบการประกันคุณภาพภายนอก
 
การประกันคุณภาพภายใน
             การประกันคุณภาพภายใน คือ ระบบการประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
กระบวนการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของหลักการบริหารที่เป็นกระบวนการครบวงจร (PDCA) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ
3.1 การร่วมกันวางแผน (Planning)
3.2 การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing)
3.3 การร่วมกันตรวจสอบ (Checking)
3.4 การร่วมกันปรับปรุง (Action)
ระบบการประกันคุณภาพภายนอก
             การ ประกันคุณภาพภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้ รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การ มหาชน) หรือ สมศ.
ประโยชน์ของการประกันคุณภาพภายนอก
                1.     เพื่อตรวจสอบ ยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
                2.     เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น-จุดด้อยของสถานศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
                3.     เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษา
                4.     เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
                5.     เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะชน
วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก
                การประเมินคุณภาพภายนอกประกอบด้วยขั้นตอนใหญ่ๆ 3 ขั้นตอน คือ  (1)   ขั้นตอนก่อนการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา  (2)   ระหว่างการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา และ(3)   หลังการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา  
ที่มา : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 2544: 7
อ้างอิงจาก : www.61.91.205.171/download/assure.doc
รวมรวมข้อมูลโดย นางสาวบุษยา  สระแก้ว