วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความผูกพันจากพี่เป็นเพื่อน..



วันซ้อมรับปริญญาบัตร ในวันที่ 15 เมษายน 2554 
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันแห่งความสำเร็จใกล้มาถึงแล้วค่ะ


ความสำเร็จของคณะนักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา
รุ่นที่ 3 ศูนย์ท่าตูมประชาเสริมวิทย์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ใกล้จะมาถึงแล้วค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

รับปริญญา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร


เข้ารับปริญญาบัตร ในวันที่ 18 เมษายน 2554 
ณ มหาวิทยาลัยราชภัำฏสกลนคร

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎี Reddin's 3-D Model


การศึกษาภาวะผู้นำตามทฤษฎี 3 มิติของเรดดิน 
(Reddin 's the 3-D model)
                                ทฤษฎี 3 มิติของเรดดิน William J. Reddin     เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และแบบของผู้นำทางการบริหาร   ทฤษฎีนี้เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนล้วนแต่มีลักษณะความเป็นผู้นำและแบบของผู้นำอยู่ด้วยกันทั้งนั้นจะต่างกันก็เพียงแต่ว่าแบบของผู้นำแต่ละคนไม่เหมือนกันและลักษณะความเป็นผู้นำมีมากน้อยต่างกัน บางคนอาจยึดมั่นแบบผู้นำแบบใดแบบหนึ่งตลอดไป   แต่บางคนอาจจะเปลี่ยนแบบผู้นำไปตามเวลา สถานการณ์ สิ่งแวดล้อมและตำแหน่งหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ
                                วิลเลียม  เจ.เรดดิน ( William  J. Reddin )  พัฒนารูปแบบตามทฤษฎี 3 มิติ จากการวิจัยที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอ ( Ohio  University )   โดยมีสมมติฐานคล้ายกับแบบพฤติกรรมผู้นำสถานการณ์ของ Fiedler  บนพื้นฐานแนวคิดการศึกษาภาวะผู้นำของเรดดิน  แบ่งออกเป็น  3 มิติ  คือ
                1. มิติมุ่งงานหรือกิจสัมพันธ์   (Task Orientation)
                                2. มิติมุ่งสัมพันธ์ภาพ หรือ มิตรสัมพันธ์ (Relation Orientation)
                3. มิติมุ่งประสิทธิผล (Effectiveness Orientation)
                                ทฤษฎีนี้ได้รับการค้นคว้าโดยนักจิตวิทยา เพื่อหาหนทางบริหารงานให้ได้ผลมากที่สุด
และได้พบว่าหลักสําคัญในการบริหารมีอยู่ 2 ประการ คือ
                1. มุ่งแต่งาน (Task to be done)
                2. การบริหารงานโดยให้ความสำคัญในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ด้วย (Relationship with
other people)  เรดดินได้แบ่งลักษณะภาวะผู้นำทางการบริหารงานออกเป็น  4 ลักษณะ
1. แบบผู้ผสมผสาน (Integrated)   2. แบบมิตรสัมพันธ์ (Related)   3. แบบผู้แยกตัว (Separated)               
4. แบบผู้เสียสละ (Dedicated)
1. ลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิผลน้อย เป็นประเภทที่ได้ผลงานต่ำ ความก้าวหน้า
ของงานไม่มี แบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ
1.1    ผู้ทนทำหรือผู้นำแบบทิ้งงาน (deserter)
1.2    ผู้เอาใจหรือผู้นำแบบนักบุญ (Missionary
1.3    ผู้คุมงานหรือผู้นำแบบเผด็จการ (Autocrat)  
1.4    ผู้ยอมความหรือผู้นำแบบประนีประนอม (Compromiser)
2. ลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิผลมาก เป็นประเภทที่ทำงานมีผลงานอยู่ในระดับสูง
                          2.1 ผู้คุมกฎเกณฑ์ (Bureaucrat)
2.2 ผู้สอนแนะหรือผู้นำแบบพัฒนา (Developer
2.3 ผู้บุกงานหรือผู้นำแบบเผด็จการอย่างมีศิลปะ   (Benevolent Autocrat)
2.4 ผู้นํ าทีม (Executive)
ที่มา : วิวัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับผู้นำ ยุทธนา พรหมณี 
รวบรวมข้อมูล โดย  นางสาวบุษยา  สระแก้ว

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ภาวะผู้นำ

ภาวะผู้นำ The Ohio State Studes

การศึกษาของมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท
จากการศึกษาของนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท พบว่าพฤติกรรมของผู้นำสามารถอธิบายได้เป็นสองมิติ คือ
1.พฤติกรรมมุ่งคน (consideration)
2.พฤติกรรมมุ่งงาน (initiating structure)
พฤติกรรม มุ่งคน คือ พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งสร้างความไว้วางใจร่วมกัน ติดต่อสื่อสารแบบสองทาง เคารพความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความต้องการของพวกเขา สร้างความใกล้ชิดทางจิตใจกับผู้ตาม ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่
- การรับฟังความเห็นของพนักงาน
- การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน
- บอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า
- สนใจความเป็นอยู่ของพนักงาน
- ปรึกษาหารือกับพนักงาน
- ติดต่อสื่อสารกับพนักงาน
- เป็นผู้แทนผลประโยชน์ของพนักงาน
- เป็นมิตรกับพนักงาน
พฤติกรรม มุ่งงาน คือ พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งระบุงานและความรับผิดชอบที่เจาะจงของสมาชิกแต่ละคน ให้ชัดเจน กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน การประสานกิจกรรมของพนักงาน การมุ่งความสำคัญของกำหนดการ มุ่งการกำกับอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จ ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่
1. การวางหมายกำหนดการทำงาน
2. การรักษามาตรฐานการปฏิบัติงาน
3. การกระตุ้นให้ใช้ระเบียบปฏิบัติเดียวกัน
4. การตัดสินใจสิ่งที่ต้องทำ และทำอย่างไร
5. การกดดันพนักงาน
6. การระบุบทบาทพนักงานให้ชัดเจน
7. การแก้ปัญหา การวางแผน
8. การประสานงาน การให้การสนับสนุน
การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำแบบสองมิตินี้ ผู้นำอาจมีสไตล์ผู้นำอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่แบบ คือ
1. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนต่ำ
2. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนสูง
3. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนต่ำ
4. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนสูง
สรุปผลการวิจัยบางประการจากการศึกษาของ ม. โอไฮโอสเตท เกี่ยวกับมิติทั้งสองด้านของผู้นำ พบว่า
1.ผู้นำที่มีประสิทธิผล จะมีพฤติกรรมที่มุ่งเน้นทั้งสองมิติ คือ ทั้งด้านมุ่งคน และมุ่งงาน
2.กลุ่มผู้ตามมีความต้องการให้ผู้นำแสดงออกด้วยพฤติกรรมด้านมุ่งคน มากกว่า มุ่งงาน
3.ในทางกลับกันกับข้อ 2 ปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาของผู้นำ ต้องการให้ผู้นำใช้พฤติกรรม ด้านมุ่งงาน เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตำแหน่งของผู้บังคับบัญชายิ่งสูงมากยิ่งต้องการให้ผู้นำใช้ พฤติกรรมด้านมุ่งงานมากขึ้นตามไปด้วย

ที่มา : สมยศ นาวีการ (2540 ). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ.กรุงเทพ : บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมเวียนเทียนวันวิสาขบูชา

นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์เข้าร่วมกิจกรรมเวียนเทียนเนื่องในวันวิสาขบูชา
ณ วัดบูรพารามพระอารามหลวง อ.เมือง จังหวัดสุรินทร์

รับเสด็จสมเ็ด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ


จัดสถานที่เตรียมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ
ณ  โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

การแข่งขันกีฬาสีภายในครูแลเจ้าหน้าที่วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์




ร่วมการแข่งขันกีฬาสีภายในระหว่างครูและเจ้าหน้าที่ ประเภทกีฬาวอลเลย์บอลและกีฬาแชร์บอล
ณ  วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์

การประกันคุณภาำพการศึกษา


การประกันคุณภาพการศึกษา
                Q.A. หรือ การประกันคุณภาพการศึกษา คือ การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา
ความสำคัญของ Q.A.
                1.  ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้
                2. 
ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ

                3. 
ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง
ประเภทของระบบประกันคุณภาพ
                1.  ระบบการประกันคุณภาพภายใน
                2.  ระบบการประกันคุณภาพภายนอก
 
การประกันคุณภาพภายใน
             การประกันคุณภาพภายใน คือ ระบบการประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
กระบวนการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของหลักการบริหารที่เป็นกระบวนการครบวงจร (PDCA) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ
3.1 การร่วมกันวางแผน (Planning)
3.2 การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing)
3.3 การร่วมกันตรวจสอบ (Checking)
3.4 การร่วมกันปรับปรุง (Action)
ระบบการประกันคุณภาพภายนอก
             การ ประกันคุณภาพภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้ รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การ มหาชน) หรือ สมศ.
ประโยชน์ของการประกันคุณภาพภายนอก
                1.     เพื่อตรวจสอบ ยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
                2.     เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น-จุดด้อยของสถานศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
                3.     เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษา
                4.     เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
                5.     เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะชน
วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก
                การประเมินคุณภาพภายนอกประกอบด้วยขั้นตอนใหญ่ๆ 3 ขั้นตอน คือ  (1)   ขั้นตอนก่อนการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา  (2)   ระหว่างการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา และ(3)   หลังการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา  
ที่มา : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 2544: 7
อ้างอิงจาก : www.61.91.205.171/download/assure.doc
รวมรวมข้อมูลโดย นางสาวบุษยา  สระแก้ว  

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เศรษฐกิจพอเพียง สมดุลแห่งชีวิต

          “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกร ชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดย เฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี 
ที่มา : คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาต
อ้างอิงจาก : http://www.doae.go.th/report/SE/html/01.htm
โดย นางสาวบุษยา  สระแก้ว

ปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโทบริหารการศึกษา